Tag Archives: อุตสาหกรรมบันเทิง

อุตสาหกรรมบันเทิงเป็นตัวดึงดูดการท่องเที่ยวไทย

ตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้ประเทศไทยประสบกับปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมือง หรือปัญหาทางด้านภัยพิบัติ ซึ่งนํามาความสูญเสียที่ยากจะคาดเดาทั้งสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ต้องยอมรับว่าปัญหาเหล่านี้ทําให้จํานวนชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวไทยลดน้อยลง จากเหตุการณ์ดังกล่าวทําให้รัฐบาลเล็งเห็นความสําคัญของการท่องเที่ยวว่าเป็นตัวการหลัก ที่ทําให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนในทิศทางที่สูงขึ้น ดังนั้นทางรัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างเต็มอัตราโดยใช้นโยบายอุตสาหกรรมบันเทิงที่ประสบความสําเร็จในหลายประเทศเป็นแนวทางในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมีการนำ

ละครไทยไปออกบูธตามเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ หรือมีมาตรการส่งออกภาพยนตร์ไทยในต่างประเทศเพื่อให้ต่างชาติรับรู้ถึงศักยภาพของคนไทย แนวคิดการใช้อุตสาหกรรมบันเทิงเป็นตัวดึงดูดการท่องเที่ยวนั้นเห็นได้เด่นชัดในประเทศเกาหลี ที่ทางรัฐบาลให้การสนับสนุนในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ด้วยสื่อบันเทิงเป็นสื่อเข้าถึงง่าย และสามารถเผยแพร่ธรรมชาติที่งดงามรวมถึงศิลปวัฒนธรรมภายในประเทศให้ออกสู่สายตาต่างชาติได้เป็นอย่างดี

แรกเริ่มของการสนับสนุนอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างเต็มที่ของเกาหลี ภาพยนตร์ต่างชาติได้รับความนิยมมากจนเกือบทําให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีทั้งหมดต้องปิดตัวลง ทางรัฐบาลเกาหลีจึงต้องจัดทํานโยบายเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยได้ยกเลิกการเซ็นเซอร์ที่เดิมมีไว้เพื่อเซ็นเซอร์สิ่งที่คิดว่าไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน เช่น ฉากสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สร้างภาพยนตร์มีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น เพราะคิดว่าสิ่งที่เซ็นเซอร์นั้นไม่ได้ช่วยให้เยาวชนเป็นคนดีหรือยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น แต่สิ่งที่จะช่วยคือการศึกษาและการขัดเกลานอกจากนั้นยังออกมาตรการลดหย่อนภาษีให้กับบริษัทสร้างภาพยนตร์ รวมถึงจัดให้มีเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่เมืองปูซานทุกปี

จากการประสบความสําเร็จอย่างงดงามของเกาหลีทําให้รัฐบาลไทยนําแนวคิดนี้มีปรับใช้เริ่มจากการดึงตัว “นิชคุณ หรเวชกุล” นักร้องสัญชาติไทยที่ไปโด่งดังในเกาหลีมาเป็นพรีเซนเตอร์ของการท่องเที่ยวไทยซึ่งในโฆษณาตัวนั้นมีการนําเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของไทยมาเผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรมไทย กีฬาไทย และธรรมชาติที่งดงามของไทย แต่ถึงอย่างไรแล้วชาวต่างชาติก็ยังคงมองว่านิชคุณเป็นตัวแทนของคนเกาหลี ซึ่งในจุดนี้…ทำให้ได้ผลตอบรับจากโฆษณาตัวนี้ในระดับปานกลาง เมื่อได้แนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เจริญเติบโตขึ้นจึงเริ่มส่งอุตสาหกรรมละครและภาพยนตร์ไทยออกต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสน่ห์ของละครไทยนั้นสามารถครองใจหนุ่มสาวแดนมังกรได้เป็นอย่างดี ด้วยแนวละครที่หลากหลาย และเข้มข้นซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สําหรับชาวเอเชียตะวันออก

ละครไทยค่อยๆ คลืบคลานเข้ามามีอิทธิพลในประเทศจีนมากขึ้น สังเกตได้จากหลายสถานนีโทรทัศน์ของจีนได้ซื้อละครไทยไปฉายที่ช่องของตน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ชมชาวจีนจํานวนมาก อาทิ สถานีโทรทัศน์อานฮุยที่ฉายละครไทยมากที่สุดในจีนตั้งแต่ปี 2552 และมีสัญญาณแพร่ภาพถึง 50 ประเทศทั่วโลกปัจจุบันละครของไทยมีราคาประมาณ 100,000 หยวน/ตอน

ทางด้านของภาพยนตร์ไทยสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 240,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยโดยที่ภาพยนตร์แนวรักวัยรุ่นได้รับความสนใจอย่างมากในแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น รักแห่งสยาม, สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก และ รัก 7 ปี ดี 7 หน เป็นต้น ขณะที่ภาพยนตร์แนวแอกชั่นสยองขวัญยังได้รับความนิยมจากตลาดต่างชาติด้วยเช่นกัน

อุตสาหกรรมสื่อบันเทิงไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้ชาติใดในอาเซียน


อนาคตอันใกล้นี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเปิดประเทศอย่างเต็มตัว ทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น วงการแสดงและวงการดนตรี แนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นทุกปี อย่างไม่จบสิ้น ทั้งธุรกิจดนตรี ภาพยนตร์ ทีวีหรือแม้แต่สื่อบันเทิงออนไลน์ สร้างรายได้มหาศาล ปีละกว่า 12,000 ล้านบาทในปี2011 และคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 15,000 ล้านบาทในปี 2016 และมีมูลค่ารวมทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 60 ล้านล้านบาท การเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ อุตสาหกรรมบันเทิง ยังขาดแคลนบุคลากรคุณภาพอีกเป็นจำนวนมาก กระแสตลาดบันเทิงของโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้ศิลปินและนักแสดงในเอเชียได้รับความนิยมสูงขึ้นสู่เวทีระดับโลก

คงปฏิเสธไมได้ว่า โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาอย่างไม่หยุดยั้ง ณ เวลานี้หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC) 10 ชาติอาเซียนจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว แนวคิดนับจากนี้ต่อไป “ต้องคิดให้เป็นอาเซียน” หลายประเทศล้วนตื่นตัว รวมถึงประเทศไทยภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เร่งขับเคลื่อนการปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันสถานการณ์ ด้านภาคอุตสาหกรรมบันเทิงไทยกำลังอยู่ระหว่างการเจริญเติบโต หากมีการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมชาติอาเซียน จะถือว่าเป็นการยกระดับสู่สากล ในเปิดประตูสู่อาเซียนปี พ.ศ. 2558

ในส่วนของผู้ผลิตสื่อบันเทิง ซึ่งเปรียบเสมือน “สมอง” เพราะต้องใช้ “ความคิด” ในการขับเคลื่อนธุรกิจสื่อแขนงนี้ ต่างออกมาแสดงทรรศนะได้อย่างน่าสนใจ เริ่มจาก “ตั้ม-จาฤก กัลย์จาฤก” ประธานกรรมการบริหาร บมจ. กันตนา เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงไทยในขณะนี้ ถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีคุณภาพค่อนข้างที่จะแข็งแรง นับตั้งแต่สิ้นปี พ.ศ.2556 อุตสาหกรรมโทรทัศน์จะเติบโตถึงขั้นก้าวกระโดด ส่วนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยถือว่า ขึ้นชื่อไม่แพ้กัน ล่าสุดภาพยนตร์สร้างประวัติศาสตร์และทำรายได้มากที่สุด อย่างเรื่อง “พี่มาก…พระโขนง” ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดด และเป็นการตอกย้ำความแข็งแกร่งมากขึ้น จึงทำให้หลายคนหันมาให้ความสนใจกับอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงมาก ถ้านับรวมประเทศอาเซียนการแข่งขันจะสูงมากขึ้น เพราะทุกประเทศต่างต้องผลิตสื่อทุกรูปแบบ ให้ครอบคลุมความเป็นอาเซียน แต่อยู่ที่ว่าใครจะเหนือกว่าใคร หลายประเทศเข้ามาลงทุนซื้อภาพยนตร์ในบ้านเรา เอาไปฉายที่ประเทศเขา ถือได้ว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ และจะยิ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก

แม้ว่าไทยจะยังคงเป็นเบอร์ต้นๆ ของวงการสื่อ แต่คงนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะหัวใจหลักของ “ความเจริญ” ต้องมาพร้อมกับการ “พัฒนา” อย่างไม่หยุดนิ่ง